ตัวทำละลาย คือสารที่ใช้ทำละลายวัตถุดิบที่หลากหลายให้เป็นเนื้อเดียวกัน วันนี้แอดจะพาทุกคนมาดูกันสิว่า..กาวทั้ง 3 ประเภทนี้ที่มีตัวทำลายที่ต่างกัน กาวมีลักษณะ และต่างกันอย่างไร❓

💧 กาวเคมีประเภทที่ 1 : กาวที่มีตัวทำละลายคือน้ำ Water Based เนื้อกาวมีลักษณะเป็นของเหลว สามารถ formulate กาวให้มีความหนืดต่ำหรือสูงได้ กาวประเภทนี้ทำละลายด้วยน้ำ ทำให้กาวมีสภาพเป็นของเหลว หลังจากทากาวบนพื้นผิววัสดุ ตัวทำละลายน้ำนี้จะระเหยออกหมดเนื้อ ตัวกาวจะกลายสภาพเป็นฟิล์มแข็ง และยึดติดชิ้นงาน กาวประเภทนี้เหมาะกับงานที่หลากหลายที่เน้นความปลอดภัยในการใช้งาน

💧 กาวเคมีประเภทที่ 2 : กาวที่มีตัวทำลายคือน้ำมัน Oil Based เนื้อกาวสามารถเซตตัวได้เร็ว หรือ ช้าตามแต่ละ formulation การผลิต  กาวให้ความแข็งแรง เหนียว แน่น เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการความแข็งแรงสูง อาทิเช่น งานไม้ งานเฟอร์นิเจอร์ งานติดตั้งหญ้าเทียม เป็นต้น

💧 กาวเคมีประเภทที่ 3 : กาวที่มีตัวทำละลายคือโซลเว้นท์ Solvent Based ในกลุ่มของน้ำมันหรือทินเนอร์ โดยจะละลายส่วนผสมต่างๆ ในเนื้อกาวในเข้ากัน และหลังจากที่ทากาวลงบนพื้นผิววัสดุแล้ว สารละลาย solvent จะระเหยออกไปหมดเหลือแต่เนื้อกาวที่ยึดติดชิ้นงาน ซึ่งสารระเหยนี้จะระเหยได้เร็วกว่าน้ำ รวมทั้งมีความปลอดภัยในการใช้งานที่ต่ำกว่าน้ำอีกด้วย 

          จะเห็นได้ ตัวอย่างกาวทั้ง 3 ประเภทนี้ ใช้เคมีกาว และตัวทำละลายที่ต่างกัน ทำให้กาวนำไปใช้งานก็ต่างกัน ซึ่งการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาติดกัน และเครื่องจักรที่ใช้งาน และ คุณสมบัติของ End Application ที่ชิ้นงานที่ติดกาวนั้นถูกนำไปใช้ เช่น ทนน้ำ ทนแดด ทนUV เป็นต้น